กระดาษถ่ายเอกสาร

กระดาษถ่ายเอกสาร 2 รุ่นใหม่ ‘Premium Paper’ และ ‘Everyday Paper’ บุกตลาดไทย

กลุ่มธุรกิจพรินเตอร์ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมการพิมพ์ระดับโลก ขอแนะนำ! กระดาษถ่ายเอกสาร หรือกระดาษพิมพ์ 2 รุ่น คือ รุ่น ‘Premium Paper’ และ รุ่น ‘Everyday Paper’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากป่าปลูกโดยมีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ผ่านการรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนจาก FSC (Forest Stewardship Council) หรือคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการปลูกป่า ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองการใช้งานพิมพ์และถ่ายเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสีและขาวดำในยุคดิจิตอล

  • Premium Paper – กระดาษคุณภาพ ขนาด 80 แกรม ประสิทธิภาพสูงและมีความโดดเด่นเหนือกว่า ด้วยคุณสมบัติความขาวที่เพิ่มขึ้น สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการถ่ายเอกสาร การพิมพ์ทั้งสีและขาวดำ เพื่อการนำเสนอที่มีสีสันสดใส
  • Everyday Paper – กระดาษคุณภาพ ขนาด 70 แกรม ด้วยราคาที่สุดคุ้ม ออกแบบมาเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการถ่ายเอกสารและพิมพ์งานทั้งสีและขาวดำในปริมาณสูง

กระดาษถ่ายเอกสาร

โปรโมชั่น: กระดาษ A4-70 แกรม

กระดาษถ่ายเอกสาร 

หากจะกล่าวถึงเรื่องของกระดาษถ่ายเอกสารแล้ว เชื่อว่านักจัดซื้อส่วนใหญ่คงมีความเห็นตรงกันว่ามูลค่าการสั่งซื้อค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการสั่งซื้อเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานในบริษัท มูลค่าการสั่งซื้อกระดาษถ่ายเอกสารมักจะติดอันดับ TOP 5 เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันกระแส PAPERLESS จะเริ่มมีบทบาทในธุรกิจมากขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี แต่สำหรับประเทศไทยก็ยังถือได้ว่าปริมาณการใช้กระดาษถ่ายเอกสารยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การศึกษาตลาด “กระดาษถ่ายเอกสาร” โดยมีเนื้อหาดังนี้

  • ทำความรู้จักอุตสาหกรรม
  • โครงสร้างต้นทุนการผลิต
  • วิเคราะห์ตลาดและการแข่งขันในอุตสาหกรรม

ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมกระดาษ เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี 2551 ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคกระดาษโดยเฉลี่ยประมาณ 60 กิโลกรัมต่อคน (เพิ่มขึ้นจาก 56 กิโลกรัมต่อคนในปี 2550) ซึ่งกระดาษที่ผลิตนั้นถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือ “กระดาษถ่ายเอกสาร” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษพิมพ์เขียน

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าแนวโน้มของประเทศจะมีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารอันทันสมัยช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ แต่กระดาษถ่ายเอกสารก็ยังคงได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายในสำนักงานทั่วไป จึงทำให้อุตสาหกรรมกระดาษมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันกระแสอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่สนใจของสังคม ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต จึงมีการคิดค้นนวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์กระดาษซึ่งปกติต้องใช้ต้นไม้จำนวนมากเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ประเภทของกระดาษถ่ายเอกสาร
กระดาษถ่ายเอกสารแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ กระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตธรรมดา กระดาษรีไซเคิล และกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) โดยกระดาษแต่ละชนิดมีรายละเอียด ดังนี้

  1. กระดาษถ่ายเอกสารธรรมดา คือกระดาษถ่ายเอกสารที่ผลิตจากเยื่อกระดาษใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นกระดาษที่มีคุณภาพดีมาก ผิวกระดาษเรียบลื่น ไม่มีจุดด่างดำสกปรก เช่น กระดาษยี่ห้อ Double A, Quality, Eagle, Lion Paper ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีกระดาษอีกจำพวกหนึ่งที่นำเศษกระดาษจากกระบวนการผลิต แต่ยังไม่ผ่านการใช้งานมาเข้ากระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเศษไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังได้กระดาษที่มีคุณภาพดีอีกด้วย เช่น กระดาษยี่ห้อ SHI-TZU เป็นต้น
  2. กระดาษถ่ายเอกสารรีไซเคิล คือกระดาษที่ผลิตจากเศษกระดาษที่ผ่านการใช้งานแล้วทุกชนิด นำมาคัดแยกแบบไม่ละเอียดแล้วเข้ากระบวนการดูดหมึกออก (D-inking) จากนั้นจึงนำเยื่อกระดาษที่ได้นี้ไปเข้าสู่กระบวนการผลิตตามปกติ ซึ่งกระดาษที่ได้จากการรีไซเคิลจะมีคุณภาพต่ำกว่ากระดาษที่ผลิตจากเยื่อใหม่ เนื้อกระดาษจะมีจุดด่างดำ และความเรียบลื่นน้อยกว่ากระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษใหม่ เช่น กระดาษยี่ห้อ Dalmatian เป็นต้น
  3. กระดาษถ่ายเอกสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือกระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษใหม่ผสมกับเยื่อเวียนทำใหม่ (Eco Fiber) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กล่าวคือ ต้องมีอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 70 ต่อ 30 ซึ่งที่ผ่านมามีสินค้าที่ผ่านเกณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายยี่ห้อ (ได้รับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว) แต่มีเพียงยี่ห้อเดียวในตลาดที่เริ่มทำการตลาดอย่างจริงจัง นั่นคือกระดาษยี่ห้อ “Idea Green” ผลิตโดย บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ซึ่งระบุว่าเป็นกระดาษเกรดพรีเมี่ยม คุณภาพเทียบเท่ากับยี่ห้อ Double A ทุกประการ แต่ลดการตัดต้นไม้ลงได้ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจุบันทางบมจ. แอ๊ดวานซ์ อะโกร ได้ผลิตกระดาษชนิดที่ได้รับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดล้อม (ฉลากเขียว) ออกจำหน่ายในตลาด โดยใช้ชื่อยี่ห้อ Double A Green ทั้งนี้ มีกระดาษถ่ายเอกสารหลายยี่ห้อ ที่เคยผ่านเกณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ได้รับฉลากเขียว) จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหลายยี่ห้อดังนี้
ยี่ห้อกระดาษถ่ายเอกสาร ผู้ผลิต
1. DALMATIAN
2. Idea Green
3. Gold Leaf,
4. บางปะอิน
5. SURE
6. GEP
7. Eco Green Paper
8. Green Office
9. Green Work
10. Envio Paper
11. Supreme Eco
12. Supreme Green
13. Double A Green
14. POM-POM/ปอม ปอม
15. SHIS-TZU/ชิห์-สุ
16. ALCOTT บจ.เปเปอร์เวิร์คเอเชีย
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน
บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน
บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน
บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน
บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในเครือปูนซีเมนต์ไทย
บมจ. แอ๊ดวานซ์ อะโกร
บจ.แอลคอท แอนด์ โก
บจ.ไฮเทค เปเปอร์
บจ.แอลคอท แอนด์ โก

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (http://.pcd.go.th)

ขนาดของกระดาษถ่ายเอกสาร
กระดาษถ่ายเอกสารคือ กระดาษปอนด์ขนาดใหญ่ที่นำมาตัดให้ได้ขนาดต่างๆ ตามลักษณะการใช้งานโดยขนาดมาตรฐานของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบันมีดังนี้

ขนาด กว้าง X ยาว (มม.) ขนาด กว้าง X ยาว (มม.)
A0 841 X 1189 มม. B0 1000 X 1414 มม.
A1 594 X 814 มม. B1 707 X 1000 มม.
A2 420 X 594 มม. B2 500 X 707 มม.
A3 297 X 420 มม. B3 535 X 500 มม.
A4 210 X 297 มม. B4 250 X 353 มม.
A5 148 X 210 มม. B5 176 X 250 มม.
A6 105 X 148 มม. B6 125 X 176 มม.
A7 74 X 105 มม. B7 88 X 125 มม.
A8 52 X 74 มม. B8 62 X 88 มม.
A9 37 X 52 มม. B9 44 X 62 มม.
A10 26 X 35 มม. B10 31 X 44 มม.
F4 216 X 330 มม. F14 216 X 356 มม.

จะเห็นได้ว่า ขนาดของกระดาษจะเล็กลงไปเรื่อยๆ ตามหมายเลขกำกับที่เพิ่มขึ้น เช่น กระดาษขนาด A3 จะมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของกระดาษ A4 และกระดาษขนาด B5 จะใหญ่เป็น 2 เท่า ของขนาด B6 เป็นต้น

และโดยทั่วไปแล้ว กระดาษถ่ายเอกสารขนาดมาตรฐานที่นิยมใช้ในสำนักงานคือขนาด A4 (210 X 297 มม.) น้ำหนัก 70 และ 80 แกรม มีขนาดบรรจุ 500 แผ่นต่อรีม ยกเว้นกระดาษรีไซเคิลบางยี่ห้อ เช่น Dalmatian, Shih-Tzu ที่มีขนาดบรรจุเพียง 450 แผ่น/รีมเท่านั้น

ราคาขายปลีกของกระดาษถ่ายเอกสาร
กระดาษถ่ายเอกสารแต่ละยี่ห้อจะมีราคาแตกต่างกันตามคุณภาพและยี่ห้อสินค้าที่เป็นที่นิยมในตลาด โดยข้อมูลราคาขายปลีกกระดาษถ่ายเอกสารในเดือนมกราคม 2552 มีดังนี้

กระดาษถ่ายเอกสาร 70 แกรม กระดาษถ่ายเอกสาร 80 แกรม
ยี่ห้อ ราคา/รีม
(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยี่ห้อ ราคา/รีม
(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
Copy Plus 79.00 Shis-tzu 85.00 – 87.00
Persia 72.00 Eagle 93.00
Copy One 79.00 Quality Green 99.00
Shis-tzu 75.00 – 78.00 Strings 99.00
Eagle 86.00 Alcott 101.00
Quality Blue 89.00 Double A 108.00
Strings 89.00
Alcott 87.00 – 90.00

ที่มา: www.officecentre.co.th และ www.officemate.co.th

โดยปกติแล้วการปรับราคากระดาษถ่ายเอกสารมักเกิดขึ้นในช่วงต้นปีของทุกปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคากระดาษถ่ายเอกสารมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากวัตถุดิบหลักซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคากระดาษถ่ายเอกสารทั้งเศษกระดาษและเยื่อกระดาษมีราคาสูงขึ้น รวมทั้งยังได้รับผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศจีน ซึ่งทำให้ความต้องการใช้กระดาษถ่ายเอกสารทั่วโลกเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าราคากระดาษจะยังไม่ลดลง แต่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รวมทั้งราคาพลังงาน (ถ่านหิน) ที่ใช้ผลิตเยื่อกระดาษที่ลดลงในช่วงปลายปีที่แล้ว จะส่งผลให้ราคากระดาษถ่ายเอกสารคงที่ และมีโอกาสปรับลดลงได้ในอนาคต

นวัตกรรมกระดาษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ทำให้เครือซีเมนต์ไทย (SCG) โดยบจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ริเริ่มแนวคิดใหม่ในการทำตลาด และพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เยื่อจากป่าปลูก และ EcoFiber (เยื่อเวียนทำใหม่) ในอัตราส่วน 70:30 ผ่านมาตรฐานการผลิต “SCG Paper Green Process” ซึ่งจะช่วยลดการตัดต้นไม้ลงร้อยละ 30 โดยเปิดตลาดจำหน่ายกระดาษระดับพรีเมี่ยม น้ำหนัก 80 แกรม ขนาด A4, A3 และ F14 ในปี 2551 และหลังจาก SCG ทำตลาดได้ไม่นาน ทางเครือ Advance Agro ก็ดำเนินการขอเครื่องหมายฉลากเขียวให้กับกระดาษยี่ห้อ Double A และผลักดันออกสู่ตลาดโดยใช้ชื่อยี่ห้อ Double A Green

สำหรับการขออนุญาตและการพิจารณาฉลากสิ่งแวดล้อม จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดให้กระดาษถ่ายเอกสารอยู่ในหมวดผลิตภัณฑ์กระดาษคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมเฉพาะกระดาษคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบหมึกผงแห้ง (Dry Toner) และกระดาษสีทำปก

เกณฑ์พิจารณาสินค้าและบริการ “กระดาษคอมพิวเตอร์”
เกณฑ์ หัวข้อเกณฑ์ ในการพิจารณา

  1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว
  2. ผลิตจากเยื่อเวียนทําใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  3. สีที่ใช้ในกระบวนการผลิต ต้องเป็นสีที่ได้รับการรับรองหรือเป็นไปตามเกณฑ์โครงการฉลากเขียว หรือเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  4. ไม่ใช้โลหะหนักจําพวก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียม (+6) ในกระบวนการผลิต

นิยาม
เยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled Pulp) หรือ Eco Fiber คือเยื่อกระดาษที่ผลิตจากเศษวัสดุ หรือวัสดุซึ่งผ่านการใช้งานแล้วจากนอกโรงงาน มาคัดสรร จัดการ และควบคุมการผลิต เพื่อให้ได้เยื่อกระดาษคุณภาพสูงเทียบเท่าเยื่อกระดาษที่ผลิตจากต้นไม้จริง

เยื่อเวียนทำใหม่ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเยื่อที่ทำจากผลิตภัณฑ์กระดาษที่ผ่านการบริโภคแล้ว (Post-consumer waste paper) แต่ไม่รวมถึงกระดาษที่ไม่ผ่านการบริโภค (Pre-consumed waste paper) ซึ่งหมายถึงกระดาษเสีย (Defected Paper) ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตกระดาษและการแปรรูปภายในโรงงานก่อนถึงมือผู้บริโภค ทั้งที่เป็นแผ่นกระดาษเสียแห้ง (Dry Broke) และแผ่นกระดาษเสียเปียก (Wet Broke) ยกเว้นแผ่นกระดาษเสียแห้งและเปียกทีทำจากเยื่อเวียนทำใหม่ร้อยละ 100

กระดาษที่ผ่านการบริโภคแล้ว (Post-consumer waste paper) หมายถึง ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ส่งผ่านไปถึงผู้บริโภคแล้ว

กระบวนการผลิตเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled Pulp) หรือ Eco Fiber คือ นำเยื่อกระดาษที่ผลิตโดยนำเศษกระดาษที่ผ่านการใช้งานแล้วจากนอก โรงงาน มาคัดแยกจัดการให้เหลือเฉพาะเศษที่ค่อนข้างดีและเปื้อนหมึกน้อย (แยกเศษจำพวกกระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษคาร์บอน ฯลฯ ออก) แล้วจึงนำเศษที่คัดแยกแล้ว เข้ากระบวนการดูดหมึกออก (D-Inking) และผลิตต่อไป

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระดาษ
ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องใช้ต้นไม้ 17 ตัน น้ำ 20 ลูกบากศ์เมตร น้ำมัน 300 ลิตร กระแสไฟฟ้า 1,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และมีการปล่อยมลพิษออกมามาก โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำที่สารพิษจากกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ จะก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในน้ำเปลี่ยนแปลง ค่าออกซิเจนในน้ำลดลง เกิดไดออกซินซึ่งเป็นสารพิษเหลือค้างในอากาศและน้ำจากการใช้ก๊าซคลอรีนสำหรับฟอกเยื่อ และเกิดการสะสมของสารพิษต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเกิดมลภาวะทางอากาศจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการผลิตเยื่ออีกด้วย และหลังการใช้งานยังก่อให้เกิดเป็นขยะมูลฝอย โดยมีมูลฝอยประเภทกระดาษคิดเป็นร้อยละ 8.19 ของน้ำหนักมูลฝอยทั้งหมด ดังนั้น เพื่อเป็นการลดการผลิตกระดาษซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จึงมีการหมุนเวียนกระดาษเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

โครงสร้างต้นทุนการผลิต
การผลิตกระดาษถ่ายเอกสารแต่ละประเภทนั้นจะใช้วัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพกระดาษที่ต้องการ ทั้งนี้ ต้นทุนหลักในการผลิตกระดาษถ่ายเอกสารคือ “เยื่อกระดาษ” นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วย สารเคมี และน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้


ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต: คือเยื่อกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเยื่อใยยาว และเยื่อใยสั้น นอกจากนี้ ยังมีแคลเซียมคาร์บอเนต และแป้งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอีกด้วย ทั้งนี้ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคิดเป็นร้อยละ 80 ของต้นทุนการผลิต
  2. เคมีภัณฑ์: สารเคมีที่ใช้ในการผลิตกระดาษถ่ายเอกสารที่สำคัญคือ “สารกันซึมน้ำ” “สารเพิ่มความสว่าง” และ “สี” โดยสัดส่วนของต้นทุนสารเคมีอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 2-8 ของต้นทุนการผลิต
  3. พลังงาน: ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า และน้ำมัน โดยที่ต้นทุนพลังงานจะมีค่าสูงรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 9-12 ของต้นทุนการผลิต

วิเคราะห์ตลาดและการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษถ่ายเอกสาร สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย และผู้ค้าปลีก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. กลุ่มผู้ผลิต: โรงงานผู้ผลิตกระดาษถ่ายเอกสารในประเทศ ซึ่งหมายรวมถึงกระดาษพิมพ์เขียนมีอยู่ 5 บริษัทหลักๆ ได้แก่

1.1 บมจ. แอ๊ดวานซ์ อะโกร (เนื้อ AA)
1.2 บจก. ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย (เนื้อ TPI)
1.3 บจก. กระดาษศรีสยาม (เนื้อ ศรีสยาม)
1.4 บจก. บูรพาอุตสาหกรรม (เนื้อบูรพา)
1.5 บจก. โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน (เนื้อบางปะอิน)

2. กลุ่มผู้แทนจำหน่าย: สามารถแจกแจงรายละเอียดของผู้แทนจำหน่าย จำแนกตามเนื้อกระดาษถ่ายเอกสาร ดังนี้

2.1 เนื้อกระดาษ AA จัดจำหน่ายโดย บจ.เค พี ไอ เทรดดิ้ง หจก.บางพลีสเตชั่นเนอรี่ บจ.ร่มฉัตรอาภา บจ.โอเชี่ยน เปเปอร์ บจ.เวิลด์แฟกซ์ เปเปอร์ บจ.สามเจริญเทรดดิ้ง บจ.แกรนด์เปเปอร์ บจ.สหผลเปเปอร์ บจ.ไนซ์ลี่เปเปอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ และบจ.ซี.เอ็น ซิสเต็ม
2.2 เนื้อกระดาษ TPI จัดจำหน่ายโดย หจก.ลิ้มพาณิชย์ บจ.รีมส์ แอนด์ โรลส์ บจ.แอลคอท แอนด์โก หจก.สยามยูไนเต็ด คอมพิวเตอร์ (1996) บจ.ฮั่วกี่เปเปอร์ บจ.ร็อคซี เปเปอร์ บจ.บางกอก เปเปอร์ บิสสิเนส
2.3 เนื้อกระดาษบางปะอิน จัดจำหน่ายโดย บจ.โรงงานอตุสาหกรรมกระดาษบางปะอิน และบจ.แพน-เปเปอร์ (1992)
2.4 เนื้อกระดาษบูรพา จัดจำหน่ายโดย บจ.เอยูเอส เปเปอร์
2.5 เนื้อกระดาษศรีสยาม จัดจำหน่ายโดย บจ.กระดาษศรีสยาม
2.6 เนื้อกระดาษนำเข้า จัดจำหน่ายโดย บจ.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย บจ.ซี.เอ.เอส.เปเปอร์ บจ.ร็อคซี เปเปอร์
2.7 เนื้อกระดาษ UPM นำเข้า และจัดจำหน่ายโดย บจก.ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย)

3. กลุ่มผู้ค้าปลีก: ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ค้าปลีกกระดาษถ่ายเอกสารคือตัวแทนจำหน่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เอ เอ เปเปอร์ แอนด์ สเตชั่นเนอรี่ ออฟฟิศเมท สหออฟฟิศ โบ๊ทบุ๊กส์ แอนด์ สเตชั่นเนอรี่ และออฟฟิศ ดีโปท์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วไป เช่น B2S และ Data IT เป็นต้น

ตลาดกระดาษถ่ายเอกสาร
กระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันทั่วไปในตลาด ส่วนมากเป็นกระดาษที่ผลิตภายในประเทศ โดยมีโรงงานผู้ผลิตเนื้อกระดาษหลักที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย 2 ค่ายหลัก ได้แก่

  1. เนื้อกระดาษ AA (A-Cop): ผลิตโดย บมจ.แอ๊ดวานซ์ อะโกร และจัดจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายหลายราย และมีหลายยี่ห้อ ได้แก่ Double A, Quality, Eagle, Speed, Hi – Dup (Boat), Swan, Turbo, Shih-Tzu และ Alpine เป็นต้น
  2. เนื้อกระดาษ TPI: ผลิตโดย บจก.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย โดยมีผู้แปรรูปและจัดจำหน่ายเป็นยี่ห้อต่างๆ ได้แก่ Alcott, IQ, Copy Boss, Pre Cock, String และ Lion Paper เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกระดาษถนอมสายตายี่ห้อ Green Read และกระดาษเกรดพรีเมี่ยมซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยี่ห้อ Idea Green ซึ่ง บจก. ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ผลิตและจัดจำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายรายต่างๆ อีกด้วย
  3. เนื้อกระดาษอื่นๆ: นอกจากเนื้อกระดาษ AA และ TPI แล้ว ยังมีเนื้อกระดาษจากโรงงานอื่นๆ อีก เช่น เนื้อกระดาษศรีสยาม ผลิตโดย บจ.กระดาษศรีสยาม เนื้อกระดาษบูรพา ผลิตโดย บจ.บูรพาอุตสาหกรรม และเนื้อกระดาษบางปะอิน ผลิตโดย บจ.โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีกระดาษที่รู้จักกันในคำที่เรียกว่า “เนื้อนอก” ซึ่งมีผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายรวมอยู่ด้วย โดยแหล่งที่นิยมนำเข้า ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย (เป็นที่นิยมมากที่สุด) สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผู้ขายบางบริษัทจำหน่ายทั้งกระดาษที่ผลิตในประเทศและกระดาษนำเข้า แต่ก็มีผู้ขายบางส่วนที่จำหน่ายเฉพาะกระดาษนำเข้าอย่างเดียว เช่น บจ. ซี.เอ.เอส.เปเปอร์ จำหน่ายกระดาษยี่ห้อ Paper Line

มูลค่าตลาดของกระดาษถ่ายเอกสารในประเทศ
สำหรับตลาดรวมของกระดาษถ่ายเอกสารของประเทศมีมูลค่าประมาณ 6,000 ถึง 7,000 ล้านบาท โดยมูลค่าของกลุ่มธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business: B2B) และธุรกิจต่อหน่วยงานภาครัฐ (Business to Government: B2G) คิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดรวม ทั้งนี้ ผู้ผลิตที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดคือ “บมจ.แอ๊ดวานซ์ อะโกร” รองลงมาคือ “บจก.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย” ส่วนที่เหลือคือโรงงานผลิตกระดาษเนื้ออื่นๆ และกระดาษนำเข้าจากแหล่งต่างประเทศ ที่กำลังมาแรงคือเนื้อกระดาษ UPM ที่นำเข้า และจัดจำหน่ายโดย บจก.ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) ตั้งเป้าจะแชร์ส่วนแบ่งการตลาดให้ได้เป็นอันดับ 3 ภายในปี พ.ศ. 2559

ช่องทางการจัดจำหน่ายในอุตสาหกรรมกระดาษถ่ายเอกสาร
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายกระดาษถ่ายเอกสารนั้น คล้ายกับสินค้าทั่วไปประเภทอื่น กล่าวคือ โรงงานผู้ผลิตจำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายหลักของตน ออกสู่ผู้แทนจำหน่ายรายย่อย ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค โดยค่ายหลักในประเทศทั้ง 2 ค่าย ได้แก่ Advance Agro และค่าย TPI นั้นมีช่องทางที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

1. บจ. ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ผู้ผลิตกระดาษในค่าย TPI มีลักษณะการจำหน่าย 2 แบบคือ

1.1 จำหน่ายกระดาษม้วนใหญ่ให้กับโรงงานแปรรูปแต่ละแห่ง นำไปตัดเป็นรีมเล็ก และจำหน่ายด้วยยี่ห้อของตน เช่น Alcott, Lion Paper, IQ ฯลฯ1.2 ตัดกระดาษถ่ายเอกสารรีมเล็ก ยี่ห้อ Idea Green และกระดาษถนอมสายตายี่ห้อ Green Read จำหน่ายถึงผู้บริโภคเอง โดยผ่านองค์กร ช่องทางร้านค้า และห้างสรรพสินค้าต่างๆ

2. บมจ. แอ๊ดวานซ์ อะโกร ผู้ผลิตกระดาษค่าย AA มีโรงงานแปรรูปและตัดกระดาษม้วนใหญ่เป็นรีมเล็กยี่ห้อต่างๆ เช่น Quality, Speed, Eagle ฯลฯ มีลักษณะการจำหน่าย 2 แบบ คือ

2.1 จำหน่ายผ่านผู้แทนหลักไปสู่องค์กร ผู้แทนรายย่อย ไปจนถึงร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า2.2 จำหน่ายกระดาษยี่ห้อ Double A ผ่านร้านเอเอ เปเปอร์ แอนด์ สเตชั่นเนอรี่ ถึงผู้บริโภคโดยตรง

แนวโน้มและอนาคตของธุรกิจกระดาษถ่ายเอกสาร
ตลาดกระดาษถ่ายเอกสารของประเทศ ซึ่งมีผู้ผลิตรายใหญ่ที่โดดเด่นอยู่ 2 บริษัทคือ บมจ.แอ๊ดวานซ์ อะโกร และบจก.ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย โดยในปี 2552 นี้ คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากความต้องการกระดาษในประเทศและทั่วโลกจะลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศถดถอย รวมทั้งปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลต่อเนื่องไปทั่วโลก และปัญหาดังกล่าวยังคงมีโอกาสเลวร้ายลงไปได้อีก โดยในระยะยาวแล้ว แม้ว่ากระดาษถ่ายเอกสารจะยังคงได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ด้วยผลของสภาพเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคก็คงจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหันไปใช้ประโยชน์จากวัสดุอื่นหรือแหล่งอื่นทดแทน จนอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพากระดาษอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความต้องการกระดาษทั้งประเทศโดยเฉลี่ยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่กระดาษพิมพ์เขียน มีอัตราการขยายตัวของความต้องการมากที่สุด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่รู้หนังสือ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้มีปริมาณความต้องการเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

  1. อัตราภาษีนำเข้าที่ลดลง ภายใต้ข้อตกลงของ AFTA ภาษีนำเข้าของสินค้าเยื่อกระดาษและ กระดาษได้ลดลงเหลือร้อยละ 7.5 จนถึงเดือนธันวาคม 2547 และจะลดลงไปเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548 จนในที่สุดจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553
  2. แนวโน้มการใช้กระดาษทดแทนพลาสติก เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าต้นทุนบรรจุภัณฑ์พลาสติกสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษร้อยละ 5 หรือ 10 สตางค์ต่อหน่วย ขณะเดียวกัน ภาครัฐเองก็กำลังจะมีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในเร็วๆ นี้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงหันมาใช้กระดาษกันมากขึ้น เช่น ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “มาม่า” ก็ยังหันมาตั้งโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ถ้วยและชามที่ทำจากกระดาษในประเทศจีนเพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
Fuji Xerox (Thailand) Authorized Dealer

ขาย เช่า และซ่อมบำรุง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มัลติฟังก์ชั่น
สำนักงานขาย/ศูนย์บริการ ฟูจิ ซีร็อกซ์ พัทยา ชลบุรี  Line id: @pattayaprinter
โทร: 033-031-839, 083-078-5488, 081-649-1761
Digital Office Solutions Limited Partnership
6/26-27 Mu 9. Sukhumvit Road, Nongprue, Banglamung, Chonburi, 20150 ,Thailand
e-mail: support@pattayaprinter.com